ประวัติโรงเรียน
|
โรงเรียนบ้านจะแนะ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
รหัสไปรษณีย์ ๙๖๒๒๐ โทรศัพท์ 073-530-651 e-mail school43s@narathiwat3.go.th
เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล ถึง ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน ๓๔ ตารางวา มีเขตพื้นที่บริการ ๒ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านจะแนะ หมู่บ้านบือแต
ประวัติโดยย่อและวัตถุประสงค์เฉพาะของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านจะแนะ ได้ดำเนินการสอนเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๐๐ โดยมีราษฎร หมู่ที่ ๖ (หมู่ที่ ๒ ปัจจุบัน) และเจ้าหน้าที่แผนกศึกษาธิการอำเภอระแงะ ตลอดจนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียน จำนวน ๓ ห้องเรียน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สอนให้กองรักษาการณ์ เป็นเวลา ๑ ปีเศษ ต่อมากองรักษาการณ์ผุพังประกอบกับนักเรียนมีจำนวนมากขึ้น นายรื่น พรหมมณี ครูใหญ่ กำนัน และราษฎร ได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียน จึงได้ย้ายมาเรียนที่อาคารใหม่ที่ยังไม่แล้วเสร็จ ทำการสอนอยู่ประมาณ ๑ ปี ทางอำเภอระแงะได้จัดสรรงบประมาณต่อเติมอาคารเรียน จำนวน ๑ ห้อง และสร้างเพิ่มเติม ๓ ห้องเดิมจนแล้วเสร็จ
ที่ดินโรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๖ ไร่ ราษฎรหมู่ที่ ๒ เป็นผู้บริจาคเดิมเป็นสวนยาง คณะครูและนักเรียนรุ่นแรกช่วยกับปรับพื้นที่ หลังจากมีการรางวัดที่ดินโดยที่ราชพัสดุ ปรากฏว่าที่ดินของโรงเรียนคงเหลือ ๕ ไร่ ๓ งาน ๓๔ ตารางวา ตาม นส. ๓ ก เลขที่ ๒๑๒๓ หมู่ที่ ๒ ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
การก่อตั้งโรงเรียน
โรงเรียนบ้านจะแนะ เปิดสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
พ.ศ. ๒๕๐๙ ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณ สร้างอาคารเด็กเล็กขึ้นเป็นเอกเทศจำนวน ๑ ห้องเรียน งบประมาณ ๒๕,๐๐๐ บาท (รื้อแล้ว)
พ.ศ. ๒๕๑๖ กำนันและราษฎรหมู่ที่ ๒ ตำบลจะแนะ ได้บริจาคจำนวน ๗,๐๐๐ บาท สร้างอาคารเรียนชั่วคราว ๑ หลัง จำนวน ๒ ห้องเรียน วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ได้เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท สร้างที่ศูนย์กลุ่มโรงเรียนดุซงญอ
พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูของกลุ่มในบริเวณโรงเรียนบ้านจะแนะ จำนวน ๓ หลัง ในวงเงินหลังละ ๓๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับงบประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ๐๑๗ จำนวน ๑ หลัง ๔ห้องเรียน
พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู จำนวน ๒ หลัง เป็นเงิน ๘๐,๐๐๐ บาท และได้งบสร้างส้วม จำนวน ๕ ที่ เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้รับงบประมาณ สร้างโรงฝึกงานแบบ ๓๑๒ จำนวน ๑ หลัง และบ้านพักครู แบบกรมสามัญ จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียน แบบ ๐๑๗ จำนวน ๔ ห้องเรียน เป็นเงิน ๒๔๐,๐๐๐ บาท และได้งบประมาณสร้างบ้านพักครูแบบเรือนแถวของกลุ่ม จำนวน ๓ คูหา เป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับงบประมาณสร้างถังน้ำ แบบ ฝ.๓๓ จำนวน ๓ ถัง เป็นเงิน ๖๐,๐๐๐ บาท และสนามวอลเลย์บอล ๑ สนาม วันที่ ๑๖ สิงหาคม นายอาไซน์น่า อับดุลเลาะ มารับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านจะแนะ
พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับงบประมาณ สร้างส้วมแบบ สปช. ๖๐๑/๒๖ จำนวน ๘ ที่เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท คณะครูกรรมการศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ร่วมกันบริจาคเงิน และแรงกายสร้างห้องอบรมจริยธรรม ขนาด ๗ x ๙ เมตร ค่าใช้จ่ายประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ บาท โดยได้รับการสนับสนุนงบพัฒนาจังหวัดจากสมาชิกผู้แทนราษฎร คุณอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ จำนวน ๓๒,๙๐๐ บาท และถังเก็บน้ำประปา จุน้ำประมาณ ๖,๐๐๐ ลิตร ค่าใช้จ่ายประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท งบประมาณส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนงบพัฒนาจังหวัดจากสมาชิกผู้แทนราษฎร คุณปริญญา เจตาภิวัฒน์ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาทส่วนที่เหลือ คณะครู กรรมการศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนร่วมกันบริจาค
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้สร้างรั้วถาวร (กำแพง) ด้านติดกับทางหลวงแผ่นดิน ยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร ค่าใช้จ่ายประมาณ ๗๐,๐๐๐ บาท โดยได้รับการสนับสนุนงบพัฒนาจังหวัดจากสมาชิกผู้แทนราษฎร คุณเสนีย์ มะดากะกุล จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท รายได้จากการวิ่งมินิมาราธอนการกุศลที่โรงเรียนจัด จำนวน ๑๘,๐๐๐บาท ส่วนที่เหลือ คณะครู กรรมการศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนร่วมกันบริจาค
พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับงบประมาณ สร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. ๒๐๑/๒๖ เป็นเงิน ๓๔๐,๐๐๐ บาท และผู้ปกครองนักเรียนร่วมกันบริจาค
พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับเลือกให้เป็น โรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ มีนักเรียน จากโรงเรียนบ้านจะแนะ และโรงเรียนใกล้เคียงมาสมัครเรียน จำนวน ๕๒ คน โดยทางโรงเรียน ได้อนุโลมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ แต่งกายตามหลักศาสนาอิสลาม ตามคำเรียกร้องของกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน และได้สร้างห้องสหกรณ์โรงเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรในโรงเรียน กรรมการสถานศึกษาร่วมกันสร้าง
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับงบประมาณ สร้างสนามบาสเกตบอล จำนวน ๑ สนาม เป็นเงิน ๑๒๘,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๗ คณะครู กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน ๓ ห้องเรียน โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก สปจ.นราธิวาส ๑๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้เปิดสอนชั้นอนุบาล ๑ ซึ่งก่อนหน้านี้สอนเฉพาะชั้นเด็กเล็กเท่านั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จบเป็นรุ่นแรก จำนวน ๓๒ คน ส่วนใหญ่ไปสมัครเรียนต่อ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนศูนย์ปฏิรูปทางการศึกษาได้รับงบประมาณซ่อมแซมเปลี่ยนฝ้าเพดานและทาสีอาคารเรียน แบบ ๐๑๗ และได้รับงบประมาณจัดทำห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งอุปกรณ์อย่างละ ๑ ห้อง ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. ๒/๒๘ จำนวน ๑ หลัง ๙ ห้องเรียน เป็นเงิน ๓,๔๒๒,๐๐๐ บาท และคณะครู กรรมการโรงเรียนร่วมกันสร้างที่จอดรถ จำนวน ๑ หลัง และสร้างศาลาพักร้อน จำนวน ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ปรับปรุงบริเวณโรงเรียน จัดทำสวนหย่อม และปลูกไม้ดอกไม้ประดับตามแนวถนน ไปอาคารใหม่ รวมทั้งสร้างรั้วรอบๆ สนาม คณะครูได้ร่วมกับศิษย์เก่าและกรรมการโรงเรียน ต่อเติมอาคารเรียนแบบ สปช. ๑๐๕/๒๙ จำนวน ๔ ห้องเรียน และได้รับงบประมาณโรงเรียนศูนย์ปฏิรูปการศึกษา จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ซ่อมแซมรางน้ำ อาคารเรียน แบบ สปช. ๑๐๕/๒๙ ที่ชำรุด และได้งบปรับปรุงโรงเรียน จำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท ซ่อมแซมประตูและหน้าต่างที่ชำรุด
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับงบประมาณจาก อบต.จะแนะ สร้างถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ในบริเวณโรงเรียนยาว ๑๐๐ เมตร และคณะครูร่วมกันบริจาคเงินสร้างสวนนก ได้งบประมาณสร้างส้วมแบบ ๖๐๑/๒๖ จำนวน ๔ ที่ และซ่อมแซมหลังคาอาคารเรียนแบบ ๐๑๘
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับงบประมาณสร้างลานกีฬา งบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท คณะครูร่วมกันบริจาคเงินปรับปรุงอาคารเอนกประสงค์ใช้เป็นห้องเรียนอนุบาล ๑ คณะครู กรรมการโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนร่วมกันบริจาคเงินขยายห้องละหมาดและสร้างสหกรณ์หลังใหม่
พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะครูร่วมกันบริจาคเงินสร้างถนนคอนกรีต และสร้างหลังคาเรียนหน้าอาคารเรียน ๒ โดยกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนช่วยแรงงานในการสร้าง
พ.ศ. ๒๕๔๕ มีการติดตั้งระบบน้ำประปาในโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๔๗ จัดทำป้ายหน้าโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นโรงเรียนนำร่องโครงการห้องเรียนวิถีอิสลามจัดสร้างห้องประชุมสานสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นโรงเรียนหนึ่งโรงเรียนสองระบบ
พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นโรงเรียนต้นแบบห้องเรียนวิถีอิสลามได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ด้านหลักสูตร ในการประกวดหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ประจำการศึกษา ๒๕๔๙ จากสำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. ๒๕๕๐ จัดสร้างอาคารละหมาด ๒ ชั้นโรงเรียนได้รับรางวัลเป็นโรงเรียนที่สร้างความสัมพันธ์ชุมชนดีเด่น จากมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ร่วมกับคุรุสภา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๐ ได้รับคัดเลือกเป็นผลงานวิจัยเด่นประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ในโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับท้องถิ่นใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๑ จัดสร้างที่แปรงฟันสำหรับนักเรียนจัดสร้างขยายห้องประชุมเป็นโรงเรียนที่จัดกิจกรรมดีเด่น รองอันดับหนึ่งในโครงการส่งเสริมเครือข่ายกรรมการสถานศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๓
พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารห้องส้วมมาตรฐานชาย จำนวน ๔ ที่นั่ง ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารห้องส้วม แบบ สปช. ๖๐๔/๔๕ จำนวน ๔ ที่นั่ง ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารห้องส้วมมาตรฐานหญิง แบบ สปช. ๒๒๘ จำนวน ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๕๔ จัดสร้างอาคารห้องพยาบาล จำนวน ๒ ห้อง
พ.ศ. ๒๕๕๔ จัดสร้างอาคารห้องเรียน แบบ ๓๑๘ ล/๓๘ พิเศษ ๔ ชั้น ๑๘ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง
ได้รับจัดสรรงบประมาณ (ผูกพัน)๑๗,๒๒๖,๕๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๔ ปรับปรุงอาคารห้องเรียน แบบ สปช ๒/๒๘ พิเศษ ๓ ชั้น ๑๘ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง งบประมาณจาก สพฐ. ๙,๔๗๐,๕๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๙ จัดสร้างอาคารห้องส้วมแบบ สปช. ๖๐๒/๒๖ ๑๐ ที่นั่ง จำนวน ๑ หลัง
|